13/7/59

"นาฬิกาชีวิต"


คุณเคยสงสัยมั้ยว่า ... อยู่ๆทำไมรู้สึกว่าร่างกายไม่ปกติ แล้วเคยมั้ยที่จะสังเกตว่า ...         

 นาฬิกาชีวิต 

ของเรามันยังคงเดินอย่างเที่ยงตรงอยู่หรือป่าว!?



หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า นาฬิกาชีวิต กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ 
บางคนอาจจะทราบดีหรืออาจจะไม่ทราบเลยว่า...
นาฬิกาชีวิต นั้นสำคัญอย่างไร 
เพราะฉะนั้นวันนี้..... สาระน่ารู้ By Mabo 
จะมาเล่าถึงความสำคัญของ นาฬิกาชีวิตให้ฟังกันค่ะ   ^___^ 


นาฬิกาชีวิต ภาพจาก Google
.
.

ความหมายของ "นาฬิกาชีวิต" ในแบบที่เราเข้าใจง่าย นั้นก็คือ... 

"ช่วงเวลาการทำงานของร่างกายของเรา" นั่นเอง 

ซึ่ง นาฬิกาชีวิต ของคนเรานั้น จะมีช่วงของ กลางวันและกลางคืน
มีความสัมพันธ์กับสุขภาพของมนุษย์อย่างแยกไม่ออก 
โดยมองลึกลงไปว่า... 
ช่วงเวลา 24 ชั่วโมง ในหนึ่งวันนั้น 
ภายในร่างกายของมนุษย์มีการไหลเวียนของพลังชีวิต
ที่ผ่านอวัยวะภายในของร่างกาย 
ซึ่งประกอบด้วย "อวัยวะตันและอวัยวะกลวง" 


อวัยวะตัน หมายถึง  หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต  

อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงน้ําดี ลําไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย



การไหลเวียนของพลังชีวิต ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้น
จะใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ 

1 วัน เรียกว่า “นาฬิกาชีวิต”


นาฬิกาชีวิต ภาพจาก Google




เอาหละ !! เมื่อเรารู้แล้วว่า นาฬิกาชีวิตคืออะไร 
มีความสำคัญแค่ไหน การที่เราจะปฎิบัติตัวตามตารางของนาฬิกาชีวิตก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยใช่มั้ยล่ะ




เพราะฉะนั้น ...



เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า ใน 1 วัน ซึ่งมี 24 ชั่วโมง 
เราจะปฎิบัติตัวอย่างไรให้ชีวิตของเรา
สัมพันธ์กันกับนาฬิกาของชีวิต! 
                     



มาดูกันเล้ยยยยย ..... ^_________^


 เวลา 1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยนำมาสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ช่วงนี้ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เนื่องจากเวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจ ช่วงนี้อาจทำให้อาการกำเริบและหัวใจล้มเหลวได้
 เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะที่สมอง สมองที่ได้รับออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอจะมีผลความจำของคนเราเสื่อมลงได้
 เวลา 4.00 – 5.00 น เป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุด ร่างกายควรได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะต่อการตื่นนอนเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น สำหรับคนที่ระบบหายใจหรือปอดมีปัญหา หายใจติดขัด ไอ จาม มีน้ำมูก โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคหอบต้องระวังสุขภาพ เพราะช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่อาการกำเริบได้ง่าย
 เวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย และมีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่า ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย และตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปจนถึงช่วงหัวค่ำ ความดันเลือดในร่างกายจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้น สำหรับคนที่มีสุขภาพอ่อนแอ จะมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก หายใจติดขัด โดยเฉพาะคนที่เป็นโรค หืดควรระวังอาการกำเริบ
 เวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงาน ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารมื้อเช้า สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน ภูมิแพ้ ไขข้ออักเสบรูมาทอยด์ ช่วงเวลานี้ควรระวังอาการกำเริบได้
 เวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน โดยม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก จึงเป็นช่วงที่เหมาะต่อการ ทำงาน/ทำกิจกรรม
 เวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดัง นั้นคนที่หัวใจผิดปกติ ช่วงนี้จะมีเหงื่อออกมากและรู้สึกร้อน อบอ้าว
 เวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร หากมื้อกลางวันไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวและทรมาน
 เวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะ ปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต โดยช่วง 17.00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง จึงเหมาะต่อการออกกำลังกาย
 เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วง 18.30 น. ระดับความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด และ ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำสะอาด (ไม่ควรดื่มน้ำเย็น) และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน
 เวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ผู้ป่วยเป็นโรคผิวหนัง ช่วงนี้ควรระวังอาการกำเริบ
 เวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3 (triple heater) ได้แก่ ระบบหายใจ ส่งผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆลดลงการขับถ่ายอุจจาระจะหยุดพักชั่วคราว ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับพักผ่อน
 เวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก



ตารางในการปฎิบัติตามนาฬิกาชีวิตแบบง่ายๆ 

ตารางนาฬิกาชีวิตแบบสรุป

มาลองทำตามนี้กันดูนะคะ แล้วเพื่อนๆลองสังเกตผลลัพธ์ดูว่า สุขภาพร่างกายของเพื่อนๆเปลี่ยนไปแบบไหน 
.
.
.

Mabo ว่านะคะชีวิตของคนเราทุกคน
นอกจากจะทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแล้วนั้น... การให้ความสำคัญกับ
นาฬิกาชีวิต
ก็ช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่ดีเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยค่ะ


^^





หากชอบบทความ กด+  กดแชร์ให้ Mabo ด้วยนะคะ 



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น